“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ “โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง” ไว้เป็น”โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง
วันนี้ (23เม.ย.64) เว็บไซต์หน่วยงานในพระองค์ เผยแพร่ภาพและข้อความประชาสัมพันธ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง 15 โครงการ ครอบคลุม 11 จังหวัด ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง
จากการที่ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งเป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน ทำให้ความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคมีมากขึ้น ระบบประปาเดิมไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงแหล่งน้ำจาก ผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ และบางพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำ ส่งผลทำให้ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ซึ่งบางพื้นที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบรรทุกน้ำแจกจ่ายหลายล้านบาทต่อปี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้สนองพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง ดำเนินการสำรวจพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ออกแบบ และวางแผนจัดทำโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหา ภัยแล้ง โดยการก่อสร้างระบบประปาบาดาลในบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลที่เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำอุปโภคบริโภค ประกอบกับการยินยอมของราษฎรให้ใช้พื้นที่สำหรับดำเนินงานโครงการ และความพร้อมในการรับมอบเป็นผู้ดูแลระบบหลังดำเนินการแล้วเสร็จ โดยการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
พื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำและไม่มีศักยภาพ จำเป็นต้องทำการเจาะบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่ในพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพกว่าส่งเข้ามา เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน ซึ่งทุกพื้นที่ที่ดำเนินการโครงการได้มีการประชาคมร่วมกับท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เมื่อดำเนินการโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จ จะทำให้มีน้ำต้นทุนสำหรับทำระบบประปาหมู่บ้าน ได้อย่างเพียงพอและมั่นคง สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งในด้านการอุปโภคบริโภคและเป็นแหล่งน้ำเสริมสำหรับเกษตรกรรม
ในเบื้องต้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เริ่มดำเนินการโครงการจัดหาน้ำบาดาล ขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งเป็นพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 2 แห่ง ครอบคลุม 2 จังหวัด ได้แก่
พื้นที่ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,856 ครัวเรือน 5,786 คน
พื้นที่ตำบลดงเค็ง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 2,230 ครัวเรือน 11,000 คน
ในระยะต่อไป กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่อื่น ๆ อีกจำนวน 13 แห่ง ครอบคลุม 10 จังหวัด ดังนี้
พื้นที่ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี (จุดที่ 1) ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 2,015 ครัวเรือน 4,989 คน
พื้นที่ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี (จุดที่ 2) ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 709 ครัวเรือน 2,369 คน
พื้นที่ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 600 ครัวเรือน 2.400 คน
พื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,823 ครัวเรือน 6,198 คน
พื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 900 ครัวเรือน 3,600 คน
พื้นที่ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,400 ครัวเรือน 5,000 คน
พื้นที่ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,312 ครัวเรือน 5,738 คน
พื้นที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,632 ครัวเรือน 6,620 คน
พื้นที่ตำบลโพธิ์ตากและตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 3,428 ครัวเรือน 12,224 คน
พื้นที่ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,901 ครัวเรือน 6,000 คน
พื้นที่ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 976 ครัวเรือน 2,419 คน
พื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 5,050 ครัวเรือน 15,083 คน
พื้นที่ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,851 ครัวเรือน 5,691 คน
ในระยะต่อไป กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะดำเนินการจัดทำแผนงานโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่อื่น ๆ อีกจำนวน 13 แห่ง ครอบคลุม 10 จังหวัด ดังนี้
พื้นที่ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี (จุดที่ 1) ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 2,015 ครัวเรือน 4,989 คน
พื้นที่ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี (จุดที่ 2) ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 709 ครัวเรือน 2,369 คน
พื้นที่ตำบลด่านทับตะโก อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 600 ครัวเรือน 2.400 คน
พื้นที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,823 ครัวเรือน 6,198 คน
พื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 900 ครัวเรือน 3,600 คน
พื้นที่ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,400 ครัวเรือน 5,000 คน
พื้นที่ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,312 ครัวเรือน 5,738 คน
พื้นที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,632 ครัวเรือน 6,620 คน
พื้นที่ตำบลโพธิ์ตากและตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 3,428 ครัวเรือน 12,224 คน
พื้นที่ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,901 ครัวเรือน 6,000 คน
พื้นที่ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 976 ครัวเรือน 2,419 คน
พื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 5,050 ครัวเรือน 15,083 คน
พื้นที่ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ราษฎรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,851 ครัวเรือน 5,691 คน