เงินงบประมาณแผ่นดิน 201,510.96 ล้านบาท คิดเป็น 64.96%
เงินกู้ 44,087.01 ล้านบาท คิดเป็น 14.15%
เงินลงทุนจากการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานต่างๆ วงเงิน 42,433.25 ล้านบาท คิดเป็น 13.62%
เงินจากกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFF) 8,598.26 ล้านบาท คิดเป็น 2.76%
เงินจากโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ราว 5,701.71 ล้านบาท คิดเป็น 1.83%
ขณะที่โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จะดำเนินการต่อเนื่อง อาทิ ทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6), มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81), มอเตอร์เวย์สายบางขุนเทียน – บ้านแพ้ว (M82), ทางพิเศษ สายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอก, ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-FLOW)
รวมไปถึงการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ จังหวัดเชียงราย, โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จังหวัดนครพนม, โครงการรถไฟฟ้า 4 สายทาง (สายสีชมพู สีเหลือง สีส้ม สีม่วง), โครงการทางคู่ ระยะที่ 1 รวม 5 สายทาง และรถไฟสายใหม่ 2 สายทาง, โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย – จีน, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และการจัดตั้งสายเดินเรือแห่งชาติ
ส่วนโครงการใหม่ที่จะถูกผลักดันให้เกิดการลงทุนในปี 2566 เบื้องต้นมีรวม 55 โครงการ โดยมีวงเงินเตรียมลงทุนในปีหน้าราว 1.2 แสนล้านบาท อาทิ
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) (M5)
มูลค่าโครงการ 2.87 หมื่นล้านบาท
มอเตอร์เวย์สาย M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน – บางบัวทอง
มูลค่าโครงการ 5.6 หมื่นล้านบาท
มอเตอร์เวย์สายนครปฐม – ชะอำ
มูลค่าโครงการ 7.9 หมื่นล้านบาท
มอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7)
มูลค่าโครงการ 4.5 พันล้านบาท
ทางพิเศษ เมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้-ป่าตอง
มูลค่าโครงการ 4.5 หมื่นล้านบาท
สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา – อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
มูลค่าโครงการ 4.8 พันล้านบาท
สะพานเชื่อมเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
มูลค่าโครงการ 1.8 พันล้านบาท
โครงการ Landbridge ชุมพร – ระนอง
มูลค่าโครงการ 1.1 ล้านล้านบาท
โครงการเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานดอนเมือง
ระยะที่ 3 มูลค่าโครงการ 3.2 หมื่นล้านบาท